top of page

ตราสาร

มูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน

หมวดที่ 1

ชื่อเครื่องหมายและสำนักงานที่ตั้ง

 

ข้อ  1    มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาเอกชน ย่อว่า   ม.พ.ช. เรียกเป็น ภาษาอังกฤษว่า FOUNDATION              FOR PRIVATE EDUCATION ย่อว่า FPED

ข้อ  2    เครื่องหมายของมูลนิธินี้ คือ ดอกบัวและตราของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ข้อ  3    สถานที่ตั้งมูลนิธิ เลขที่ 33/247 ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร  10230

หมวดที่ 2

วัตถุประสงค์

ข้อ  4    วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ คือ

            4.1  เพื่อส่งเสริมวิชาชีพครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชน

            4.2  เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครูและบุคลากรของโรงเรียน เอกชน

            4.3  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนเอกชน

            4.4  เพื่อพัฒนาโรงเรียนเอกชน

            4.5  เพื่อดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์การ การกุศล อื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

            4.6  ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใด

 

หมวดที่ 3
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

 

ข้อ 5   ทรัพย์สินของมูลนิธิมีทุนเริ่มแรกคือ

          5.1  เงินสดจำนวน 331,100 บาท (สามแสนสามหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

          5.2 ที่ดินโฉนดเลขที่-รวมเป็นราคาทรัพย์สินทั้งสิ้น 331,100 บาท (สามแสนสามหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ข้อ 6   มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีต่อไปนี้

         6.1  เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภาวะติดพันอื่นใด

         6.2  เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธา บริจาคให้

         6.3  ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ

หมวดที่ 4

คุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ

 

ข้อ 7   กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้

          7.1  อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

          7.2  ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

          7.3  ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ข้อ  8  กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

          8.1  ถึงคราวออกตามวาระ

          8.2  ตายหรือลาออก

          8.3  ขาดคุณสมบัติตามตราสารข้อ 7

          8.4  เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และ  คณะกรรมการมูลนิธิ มีมติให้ลาออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการมูลนิธิ

 

หมวดที่ 5
การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ

 

ข้อ  9    มูลนิธินี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิจำนวนไม่น้อยกว่า  5 คน แต่ไม่เกิน 25 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ เลขานุการมูลนิธิ เหรัญญิก และตำแหน่งอื่น ๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร

ข้อ 10   ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้เริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้เลือกตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้น

คณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามตราสาร

ข้อ 11   วิธีเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้

ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่เลือกตั้งประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามตราสาร

ข้อ 12   กรรมการดำเนินงานของมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ข้อ 13   เพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อ 

คณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิได้ปฏิบัติหน้าที่มาครบ 2 ปี(ครึ่งหนึ่งของวาระการดำรงตำแหน่ง) ให้มีการจับฉลากออกไปหนึ่งในสองของจำนวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินงานมูลนิธิครั้งแรก

ข้อ 14   การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิ ให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม

ข้อ 15 กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือโดยการจับฉลากในวาระแรก อาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิให้อีก

ข้อ 16  ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ได้รับการตั้งซ่อมอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน และให้กรรมการมูลนิธิที่หมดวาระรักษาการกรรมการมูลนิธิไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิชุดใหม่

 

หมวดที่ 6
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ

 

ข้อ 17   คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับตราสารนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

            17.1   กำหนดนโยบายของมูลนิธิและดำเนินงานตามนโยบายนั้น

            17.2   ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ

            17.3   เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงินและ บัญชีงบดุลรายได้รายจ่ายต่อกระทรวงมหาดไทย

            17.4   ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิและวัตถุประสงค์ของตราสารนี้

            17.5   ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ

            17.6   แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการเฉพาะอย่างของมูลนิธิภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ

            17.7   เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ หรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์

            17.8   เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ

            17.9   เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของกรรมการมูลนิธิ

            17.10 แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ที่ประจำของมูลนิธิมติให้ดำเนินการตามข้อ 17.1, 17.8 และ 17.9 ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุมและที่ปรึกษาตามข้อ 17.9 ย่อมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น

ข้อ 18   ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

            18.1   เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

            18.2   สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

            18.3   เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และในการทำนิติกรรมใด ๆ ของมูลนิธิ หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ตราสารและสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิ และในการอรรถคดีนั้น เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้แทนหรือกรรมการมูลนิธิ 2 คน ได้ลงลายมือชื่อแล้วจึงเป็นอันใช้ได้

            18.4   ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามตราสารและมติของคณะกรรมการมูลนิธิ

ข้อ 19   ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิ ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน

ข้อ 20   ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น

ข้อ 21   เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการและดำเนินการประจำของมูลนิธิติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบ

ข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิ และทำรายงานการประชุมตลอดจนรายงานกิจการของมูลนิธิ

ข้อ 22   เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด

ข้อ 23   สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน

ข้อ 24   คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมหรืออนุกรรมการอื่น ๆ ของมูลนิธิได้

หมวดที่ 7

อนุกรรมการ

 

ข้อ 25   คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งขึ้นหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสมโดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรมการ  เลขานุการ หรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ก็ให้อนุกรรมการแต่ละคณะแต่งตั้งกันเองดำรงตำแหน่ง

ดังกล่าวได้

ข้อ 26   อนุกรรมการ อยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำ ส่วนคณะอนุกรรมการประจำอยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิ กำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็น  ผู้แต่งตั้งและ อนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการ   แต่งตั้งอีกได้

            26.1   อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย

            26.2  อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิ  เกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย

 

หมวดที่ 8
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

 

ข้อ 27   คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำทุก ๆ ปีภายในเดือนพฤศจิกายน แล้วต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ข้อ 28   การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในเมื่อประธานกรรมการหรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป

แสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือ ผู้ทำหน้าที่แทนขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้

ข้อ 29   กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะอนุกรรมการ  ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนดซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการประชุมให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเองและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

องค์ประชุมให้ใช้ข้อ 27 บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 30   ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน  ในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจสั่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธานกรรมการมูลนิธิต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไปถึงมติและกิจการที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิ

ข้อ 31   ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ หรือ คณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการมูลนิธิหรือประธานที่ประชุมมีอำนาจเชิญหรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกผู้มีเกียรติหรือผู้สังเกตการณ์หรือเพื่อชี้แจงหรือเพื่อให้คำปรึกษา   แก่ที่ประชุมได้

 

หมวดที่ 9
การเงิน

 

ข้อ 32   ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีที่ทำหน้าที่แทนผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวละไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่าย แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป

ข้อ 33   เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท

ข้อ 34   เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ ต้องนำฝากไว้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้ค้ำประกัน

แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร

ข้อ 35   การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือคำสั่งจ่ายเงิน จะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทำแทน

กับเลขานุการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้งจึงเบิกจ่ายได้

ข้อ 36   ในการใช้จ่ายของมูลนิธิ ให้จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุนของมูลนิธิ และเงินที่ผู้บริจาคมิได้แสดงเจตนาให้เป็นสมทบทุน โดยเฉพาะ

ข้อ 37   ให้คณะกรรมการ มูลนิธิวางระเบียบเกี่ยวกับเงิน การบัญชีและทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ข้อ 38   ให้มีผู้สอบบัญชีของมูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิเห็นชอบและแต่งตั้งจากบุคลที่มิใช่กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของมูลนิธิโดยจะให้ดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หรือ ได้รับค่าตอบแทนอย่างไรสุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ

จะกำหนด

ข้อ 39   ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชี และรับรองบัญชีงบดุลประจำที่คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยผู้สอบบัญชีมีสิทธิ์ตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ  ในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิในเรื่องใด ๆ

ที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและเอกสารดังกล่าวได้

หมวดที่  10

การแก้ไขเพิ่มเติมตราสาร

 

ข้อ 40   การแก้ไขเพิ่มเติมตราสารจะกระทำได้โดยเฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุม    ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติม ตราสาร ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม

 

หมวดที่  11

การเลิกมูลนิธิ

 

ข้อ 41   ถ้ามูลนิธิเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการ หรือ โดยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่

ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่สภากาชาดไทย มูลนิธิสายใจไทย และมูลนิธิช่วยครูอาวุโส แห่งละเท่า ๆ กัน ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด (ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล)

ข้อ 42   การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิก ด้วยเหตุต่อไปนี้

            42.1   เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์

            42.2   เมื่อกรรมการมูลนิธิจำนวนสองในสามมีมติให้ยกเลิก

            42.3   เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการ

            กำหนดไว้ตราสาร

            42.4   เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด

 

หมวดที่ 12

บทเบ็ดเตล็ด

 

ข้อ  43  การตีความในตราสารของมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัยให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ  44  ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับในเมื่อตราสารของมูลนิธิได้กำหนดไว้

ข้อ  45  มูลนิธิจะต้องไม่กระทำการค้ากำไร และจะต้องไม่ดำเนินการนอกเหนือไปจากตราสารที่กำหนดไว้

 

 

 

ลงนาม  รุ่ง  แก้วแดง  ผู้จัดทำ

(นายรุ่ง   แก้วแดง)

ตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

           

 

 

สำเนาตารางฉบับที่ได้รับอนุญาต

ได้จดทำเบียนเลขที่ ลำดับที่  4978

 

มนัส  นิลสุข

(นายมนัส  นิลสุข)

แทนผู้อำนวยการกองการทะเบียน

bottom of page